เอกสารที่ใช้ขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

      ด้วยจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ เป็นพื้นฐานจริยธรรมที่สำคัญในการทำวิจัย ซึ่งในปัจจุบัน หน่วยงานสำคัญต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ 5.1.4 (6) ว่า หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลจากการทําการวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอตําแหน่งจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันที่มีการดําเนินการ รวมทั้งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้ริเริ่มให้มีการระบุมาตรฐานการวิจัย ด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ในขั้นตอนการยื่นขอรับทุนด้วย
        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพได้ให้ความสำคัญ และสนับสนุนบุคลากรทำงานวิจัยที่มีคุณค่า ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับภูมิภาค ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวรเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับภูมิภาค จำนวน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการฯ ดังรายชื่อต่อไปนี้

               คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับภูมิภาค
                      1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกวรรณ  ง้าวสุวรรณ            กรรมการหลัก
                      2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติพงษ์  โสภณธรรมภาณ      กรรมการสมทบ
                      3) นางสาวชนัญชิดา  ยุกติรัตน์                              กรรมการสมทบ
                      4) นายชานนท์  สาระสุข                                      กรรมการสมทบ

        ในการขอรับการพิจารณาจริยธรรมในมนุษย์ นักวิจัยจะต้องดำเนินการในขั้นตอนของการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Proposal) ก่อนการทำวิจัยเท่านั้น และมีค่าใช้จ่ายการยื่นขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มีทั้งหมด 3 ประเภท โดยอาจารย์ นักวิจัย เจ้าของโครงการ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
                      1) โครงการวิจัยแบบยกเว้น (Exemption protocol)         จำนวน   300 บาท
                      2) โครงการวิจัยแบบเร่งรัด (Expedited protocol)           จำนวน   300 บาท
                      3) โครงการวิจัยแบบเต็มรูปแบบ (Full board protocol)     จานวน 1,000 บาท

         ในการนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนา ขอประชาสัมพันธ์ให้คณาจารย์ นักวิจัย ที่ประสงค์ยื่นขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จะต้องผ่านการฝึกอบรมผู้วิจัยหลักและผู้ร่วมวิจัย (ถ้ามี)  เช่น Human Research Ethics, GCP training certificate (clinical trial only) โดยสามารถดาวโหลดแบบฟอร์มและ เอกสารประกอบเพื่อขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ได้ที่เว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนา www.rdi.rmutk.ac.th/downloads หัวข้อ เอกสารเพื่อขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  นางสาวขวัญใจ  ยุกติรัตน์    โทร. 1177
         ทั้งนี้ขอแนะนำการอบรมออนไลน์ด้านการปฏิบัติการทางคลินิกที่ดี  Good Clinical Practice (GCP) และ/หรือ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ Human Research Ethics ได้ด้วยตนเองจากโปรแกรมอบรมออนไลน์โดยหลังผ่านการอบรมจะได้ประกาศนียบัตรที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จาก website เช่น
1) สำนักงานมาตรฐานการวิจัยในคน (วช.)  https://ohrs.nrct.go.th/E-learning
2) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) http://www.medtu.org/GCP/

Loading